วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

FAR OSR คืออะไร? ส่งผลกับราคาที่ดินด้วยนะ

 

            กฎหมายผังเมืองจะมีข้อกำหนดพื้นที่อาคารที่สร้างได้ FAR และ OSR ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารในแต่ละพื้นที่ ต่อให้เป็นที่ดินที่อยู่ติดกันแต่อยู่คนละผังสี มีค่า FAR และ OSR ต่างกันก็ทำให้พื้นที่ของอาคารที่พัฒนาได้ต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนซื้อ-ขายที่ดินจะต้องตรวจสอบสีผังเมือง ประเภทอาคารสร้างได้ และค่า FAR OSR เพราะหากที่ดินของคุณสามารถสร้างอาคารได้พื้นที่มากขึ้น ก็มีโอกาสที่ราคาที่ดินจะสูงขึ้นอีกด้วย

FAR คืออะไร?

FAR (Floor to Area Ratio) คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน เป็นตัวกำหนดว่าจะสามารถสร้างอาคารได้ขนาดเท่าไหร่ โดยมีวิธีคำนวณคือ

พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  =  ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดิน

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 19,200 ตารางเมตร

OSR คืออะไร?

OSR (Open Space Ratio) คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม เป็นตัวกำหนดว่าต้องเหลือพื้นที่ว่างบนพื้นดินเท่าไหร่ ส่งผลต่อขนาดอาคารเช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการคำนวณ คือ

พื้นที่เปิดโล่งบนที่ดิน= ค่า OSR xพื้นที่อาคาร

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) ตามข้อมูล FAR ด้านบนจะสามารถสร้างได้ 19,200 ตร.ม. อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด OSR = 5% เท่ากับว่า จะต้องมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินโดยไม่มีหลังคาคลุม 5% x 19,200 = 960 ตารางเมตร หมายความว่าต้องเว้นที่ว่างไว้ ไม่ใช้ก่อสร้างอาคาร 960 ตารางเมตรนั่นเอง

หากว่าที่ดินหลายแปลงตั้งอยู่บนพืื้นที่สีผังเมืองคนละสี ก็จะมีศักยภาพการพัฒนาอาคารต่างกัน เนื่องจาก FAR ส่งผลต่อพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และ OSR ส่งผลต่อพื้นที่เปิดโล่งบนพื้นดิน ยิ่งเป็นพื้นที่พานิชยกรรม สีแดง สีส้ม สีน้ำตาล ก็สามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่กว่า และมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินน้อยกว่าพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม อย่างพื้นที่สีเขียว เป็นต้น

FAR OSR สีผังเมือง

วิธีตรวจสอบค่า FAR OSR ง่ายๆ 

            เราสามารถตรวจสอบค่า FAR OSR ตามสีผังเมืองได้ง่าย ๆ บนเว็บไซต์ Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ที่เปิดให้สมัครสมาชิกใช้งานฟรี แค่จิ้มบนแผนที่ก็สามารถตรวจสอบสีผังเมืองได้แล้ว โดยปัจจุบันเราได้รวบรวมข้อมูลสีผังเมืองจำนวน 21 จังหวัด พร้อมข้อมูล FAR OSR มาแสดงบนแผนที่แล้ว
 

สมัครสมาชิก ใช้งานฟรี! https://www.feasyonline.com/member/register
ดูสีผังเมืองกรุงเทพปัจจุบัน – ผังเมืองกรุงเทพใหม่ได้ทันที

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

นอกจากนี้ คุณสามารถสร้าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” เพื่อดูผลการวิเคราะห์ศักยภาพที่ดินของคุณในคลิกเดียว ได้แก่ สีผังเมือง FAR OSR ราคาตลาดที่ดินรอบข้าง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการคำนวณค่าเช่าที่ดินที่เหมาะสม เป็นต้น
ดูตัวอย่าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” ได้ที่นี่

แค่เพิ่มที่ดิน…ก็วิเคราะห์ศักยภาพที่ดินได้ทันที
แพคเกจฟรี! วิเคราะห์ที่ดินได้ 1 แปลง!

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

Keyword: FAR, OSR, สีผังเมือง

#ความรู้อสังหาฯ.#กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#FAR#ผังเมือง

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1202

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ เช็ค FAR OSR

 

ทำไมต้องรู้สีผังเมืองของตัวเอง?

สีผังเมือง หรือ ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นผังที่แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ออกเป็นประเภทต่าง ๆ หากเรามีที่ดิน หรือ บ้านอยู่ในทำเลใด ควรจะตรวจสอบสีผังเมืองเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการพัฒนา ซึ่งส่งผลต่อราคาที่ดินของคุณ โดยสีผังเมืองจะบอกว่าอาคารประเภทใดบ้างที่พัฒนาได้ มี อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) และอัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) เท่าไหร่? หากที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาสูง มีค่า FAR มากสามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่ขึ้น ก็ส่งผลให้ที่ดินของเรามีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง

ในแต่ละจังหวัดหรือขอบเขตพื้นที่ปกครองจะมีข้อกำหนดสีผังเมืองต่างกัน หากเราและเพื่อนมีที่ดินขนาด 2 ไร่เท่ากัน อยู่ ห่างกันเพียง 500 เมตร ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาต่างกัน ทำให้ราคาที่ดินต่างกันมาก เช่น เมื่อตรวจสอบสีผังเมืองแล้วพบว่าที่ดินของเพื่อนอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.5 (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) มี FAR 7 และ OSR 4.5% แสดงว่าถ้าเพื่อนสามารถสร้างอาคารได้เต็มศักยภาพ FAR จะสร้างได้ 22,400 ตร.ม.

แต่ที่ดินของเราอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มี FAR 2.5 และ OSR 12.5% เท่ากับว่าเราสร้างอาคารตาม FAR ได้เพียง 8,000 ตร.ม. ต่างกันถึง  14,400 ตร.ม. ถ้าเราจะชายที่ดินให้นักพัฒนา ก็เป็นไปได้ว่าผู้ซื้อจะสนใจที่ดินของเพื่อนมากกว่า และสามารถเรียกราคาที่ดินได้สูงกว่า

สีผังเมือง FAR OSR

วิธีตรวจสอบสีผังเมืองด้วยตัวเองง่าย ๆ

การตรวจสอบสีผังเมืองด้วยง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงคุณเข้าใช้งานเว็บไซต์ FEASY ฟรี! โดยมีวิธีการตรวจสอบง่าย ๆ 2 วิธี คือ

  1. ดูข้อมูลบนแผนที่แค่ จิ้ม!
    • เลือกแถบ dropdown จังหวัด และพื้นที่สีผังเมือง
      เพื่อเลือกว่าคุณจะดูพื้นที่ให้ทำเลไหน แล้วซูมเข้าไปในพื้นที่ที่คุณต้องการเพื่อดูสีผังเมือง ในรูปตัวอย่าง จะเลือกจังหวัดกรุงเทพมหานคร และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครปัจจุบัน หรือ ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR
    • คลิกบนแผนที่เพื่อดูค่า FAR, OSR
      คลิกบนพื้นที่สีชมพูเพื่อดูข้อมูลสีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน FAR OSR ของแต่ละพื้นที่ โดยที่คุณสามารถซูมเข้าออก และปรับระดับความโปร่งใสของสีผังเมืองบนแผนที่เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

คุณสามารถดูผังสีตามจังหวัด และทำเลที่คุณต้องการเพียงค้นหาในระบบ ขณะนี้ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมืองทั้งหมด 21 จังหวัด ได้แก่

  • สีผังเมืองกรุงเทพมหานคร
  • สีผังเมืองสมุทรปราการ
  • สีผังเมืองปทุมธานี
  • สีผังเมืองพระนครศรีอยุธยา
  • สีผังเมืองEEC (ชลบุรี, ระยอง, ฉะเชิงเทรา)
  • สีผังเมืองชลบุรี
  • สีผังเมืองระยอง
  • สีผังเมืองฉะเชิงเทรา
  • สีผังเมืองนครราชสีมา
  • สีผังเมืองขอนแก่น
  • สีผังเมืองอุดรธานี
  • สีผังเมืองมหาสารคาม
  • สีผังเมืองเชียงใหม่
  • สีผังเมืองนครปฐม
  • สีผังเมืองสมุทรสาคร
  • สีผังเมืองเพชรบุรี
  • สีผังเมืองประจวบคีรีขันธ์
  • สีผังเมืองภูเก็ต
  • สีผังเมืองสงขลา
  1. ดูข้อมูลสีผังเมืองแบบละเอียดขึ้น ด้วยรายงานศักยภาพที่ดิน
    หลังจากที่คุณ “เพิ่มที่ดิน” แล้ว Feasy จะสร้างรายงานศักยภาพพื้นที่ให้คุณทันที หนึ่งในข้อมูลที่คุณจะได้รับ คือ ข้อมูลสีผังเมืองตามพิกัดที่ดินของคุณ ได้แก่ สีผังเมือง ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค่า FAR OSR และรายการสรุปประเภทที่อยู่อาศัยที่สามารถพัฒนาได้พร้อมเงื่อนไขการพัฒนา ซึ่ง FEASY ได้ทำการสรุปมาจาก สรุปข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของแต่ละจังหวัด
ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

หากคุณมีที่ดินในมือ ไม่ว่าจะเป็นการรับมรดก ซื้อที่ดิน ขายที่ดิน หรือ เช่าที่ดิน Feasy แนะนำให้คุณหาข้อมูลวิเคราะห์ศักยภาพให้ดี เพื่อที่จะได้รู้มูลค่า ราคาที่ดินที่เหมาะสม Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จึงรวบรวมข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการทำความเข้าใจถึงศักยภาพ ให้คุณวางแผนการลงทุนได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลอสังหาฯ เช็คสีผังเมืองได้ง่าย ๆ ทันที

Keyword: สีผังเมือง, FAR, OSR

#ความรู้อสังหาฯ.#ที่ดิน#FAR#ผังเมือง#ราคาที่ดิน

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1207

ราคาตลาดที่ดิน คืออะไร? ทำไมถึงไม่ตรงกับราคาที่ดินของฉัน?

 

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมราคาที่ดินที่อยู่ในทำเลใกล้กับเรา ถึงมีราคาสูงกว่าของเรามาก หรือแม้แต่ราคาซื้อขายของที่ดินแปลงข้างกัน บางครั้งก็ไม่เท่ากัน เป็นเพราะอะไร? นั่นเป็นเพราะว่า ที่ดินแต่ละแปลงมีลักษณะ และศักยภาพต่างกัน ทำให้ราคาที่ดินไม่เท่ากันนั่นเอง

ราคาที่ดิน 3 ประเภท
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าราคาที่ดินมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. ราคาประเมินราชการ ใช้สำหรับการทำนิติกรรม
  2. ราคาตลาด  เป็นราคาที่ได้รับการประเมินโดยหน่วยงาน โดยอิงตามศักยภาพของที่ดิน
  3. ราคาซื้อขายจริง เกิดจากการต่อรองกัน อาจจะสูงหรือต่ำกว่าราคาตลาดก็ได้

ราคาตลาด ในเว็บไซต์ Feasy เป็นราคาที่ได้รับการประเมินโดย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ด้วยการตั้งสมมุติฐานการประเมินราคาที่ดินแปลงมาตรฐาน ที่มีรูปร่างปกติสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดถนน มีทางเข้าออกตามกฎหมาย และแบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ 4, 16 และ 36 ไร่

ราคาตลาดนี้ใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบราคาในแต่ละพื้นที่
แต่ไม่ได้หมายความว่าที่ดินข้างๆ กันจะราคาเท่ากับราคาตลาด

ใช้เป็นดัชนีในการเปรียบเทียบราคาในแต่ละพื้นที่ จะไม่เท่ากับราคาซื้อขายจริงในแต่ละแปลง เพราะราคาซื้อขายจริงอยู่ที่ตกลงกัน อาจจะสูงหรือต่ำกว่าราคาตลาดก็ได้ มูลค่าที่ดินของคุณขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง ระยะห่างจากสถานที่สำคัญ ทางเข้าออก รูปร่างที่ดิน รวมถึงข้อจำกัดทางด้านกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อศักยภาพในการพัฒนาที่ดิน

ทำไมราคาตลาดถึงไม่ตรงกับราคาที่ดินของฉัน

หากที่ดินของคุณอยู่ในซอย จะตั้งราคาขายเท่ากับที่ดินติดถนนใหญ่คงไม่ได้ เพราะศักยภาพต่างกัน เช่น หากคุณมีที่ดินอยู่ในซอยกว้าง 6 เมตร จะไปเทียบกับราคาตลาด หรือ ราคาซื้อขายของที่ดินติดถนนใหญ่ไม่ได้ เพราะที่ดินของคุณอาจจะพัฒนาได้เพียงทาวน์เฮาส์ อาคารพานิชย์ หรือ บ้านราคาประมาณ 3-5 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่ ที่ดินติดถนนใหญ่อาจพัฒนาเป็นโครงการมูลค่าหลายร้อยล้านได้ ทำให้ราคาที่ดินต่างกันอย่างมากนั่นเอง

ราคาที่ดิน ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการสร้างรายได้

ราคาที่ดินแต่ละแปลงจะไม่เท่ากัน เพราะมีศักยภาพต่างกัน ถึงแม้จะเป็นแปลงที่อยู่ข้างกัน แต่แตกต่างกันที่ รูปร่าง ขนาด การเข้าถึง แปลงหัวมุม สีผังเมือง หรือข้อกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาต่างกันนั่นเอง หากทีึ่ดินมีศักยภาพในการพัฒนาสูง สร้างมูลค่าได้มาก ก็มีโอกาสที่ราคาที่ดินจะสูงขึ้นตาม

แล้วจะตั้งราคาขายที่ดินอย่างไร?

ก่อนจะตั้งราคาขายที่ดิน คุณต้องรู้ก่อนว่าที่ดินนั้นมีศักยภาพในการพัฒนาอย่างไร? แล้วจึงจะเลือกวิธีการตั้งราคา หรือ การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน Feasy ขอแนะนำ 3 วิธีการที่มักจะใช้กันเพื่อประเมินมูลค่าที่ดินเปล่า ไปจนถึงที่อยู่อาศัย ดังนี้

  1. วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด
    เหมาะสำหรับ: อสังหาฯ ที่มีอยู่ทั่วไปในตลาด เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม อาคารพานิชย์ เป็นต้น เพราะสามารถหาอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบได้ง่าย
    วิธีการตั้งราคา: หาราคาซื้อขายจริง (ไม่ใช่แค่ราคาประกาศขาย) ของอสังหาฯ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับของเรามาเปรียบเทียบกัน เช่น หากเรามีบ้านเดี่ยว 2 ชั้น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ อยู่ติดถนนซอย 6 เมตร ก็ให้หาอสังหาริมทรัพย์ลักษณะใกล้เคียงกัน ในละแวกเดียวกันแล้วนำมาเปรียบเทียบ บวก ลบ ราคาตามลักษณะ เช่น ความใหม่-เก่า ความสวยงาม ทางเข้าออก สภาพแวดล้อม และอื่น ๆ เป็นต้น
  1. วิธีการตั้งสมมุุติฐานการพัฒนา
    เหมาะสำหรับ:ที่ดินเปล่า มีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    วิธีการตั้งราคา:วิเคราะห์ว่าที่ดินดังกล่าวมีศักยภาพพัฒนาเป็นอะไรที่ให้ประโยชน์สูงสุด เช่น ที่ดินตาบอดแต่รวมแปลงกับที่ดินด้านหน้าแล้วสามารถนำไปพัฒนาคอนโดมิเนียมได้ ก็นำคำนวณโดยคิดว่าเป็นที่ดินสำหรับทำคอนโดมิเนียมราคา 3 ล้าน/ห้อง จำนวน 100 ห้องได้
    ต้นทุนราคาที่ดิน = มูลค่าโครงการ – ต้นทุนค่าก่อสร้าง – ต้นทุนอื่น ๆ 
    เมื่อหักลบค่าใช้จ่ายแล้ว ก็จะได้ต้นทุนราคาที่ดินที่นักพัฒนาสามารถซื้อได้ เพื่อจะขายคอนโดในราคาดังกล่าว ทำให้เราสามารถต่อรอง ตั้งราคาใหม่ที่สูงกว่าเดิมได้

    Feasy มีเครื่องมือคำนวณต้นทุนราคาที่ดิน สำหรับพัฒนาคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์/ทาวน์โฮม พร้อมข้อมูลตลาดสำหรับการเปรียบเทียบรายทำเลอีกด้วย หากคุณ “เพิ่มที่ดิน” แล้วเห็นว่าที่ดินมีศักยภาพในการพัฒนาในรูปแบบดังกล่าว ก็สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Excel ให้วุ่นวาย
  1. วิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่า
    เหมาะสำหรับโรงแรม อะพาร์ตเมนต์ หอพัก  หรือ เซอร์วิสอะพาร์ตเมนต์
    วิธีการตั้งราคา: คำนวณจากศักยภาพในการสร้างรายได้ ยิ่งสร้างรายได้ได้มาก ก็สามารถตั้งราคาได้สูงนั่นเอง
    มูลค่าวันนี้ = ผลรวมของรายได้สุทธิที่จะได้ในอนาคตจนสิ้นอายุขัย
    โดยใช้สูตรคำนวณ V = I / R โดยที่ V คือ มูลค่าทรัพย์สิน, I คือ รายได้สุทธิ และ R คืออัตราผลตอบแทน
    อัตราผลตอบแทน มักใช้อัตราขั้นต่ำที่เงินจะเติบโตโดยที่เงินทำงานให้เรา เช่น อัตราเงินฝากของสถาบันการเงิน หรือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้เราไม่ประเมินมูลค่าไว้สูงเกินความเป็นจริงมากเกินไป

จะเห็นว่าต่อให้เรามีที่ดินแปลงหนึ่งแต่เรามองเห็นศักยภาพในการพัฒนาที่ต่างกันก็ทำให้มูลค่า หรือ ราคาที่ดินที่เราจะขายได้ต่างกันนั่นเอง เช่น หากเราไปเจอที่ิดินตาบอด หรือที่ดินแปลงมุมที่ติดข้อกำหนดทางกฎหมายทำให้ไม่สามารถพัฒนาอะไรได้ ดูเหมือนไม่มีมูลค่าเลย แต่หากนำมารวมแปลงกับที่ดินใกล้เคียงก็อาจจะมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ที่มีมูลค่าสูง ส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้นได้

Keyword: ราคาที่ดิน, ขายที่ดิน

#มุมมองนักลงทุน#ที่ดิน#ราคาที่ดิน

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1276

เจาะลึก! 5 อันดับ บ้านคอนโด ทำเลไหน ราคาเท่าไหร่ ขายดีสวนกระแส

 

       ผลกระทบจากโควิด และเศรษฐกิจโลกทำให้กำลังซื้อทั้งในไทยและต่างชาติหายไปอย่างรวดเร็ว โครงการที่อยู่อาศัย บ้าน-คอนโดหลายที่จึงขายไม่ค่อยออก ต้องจัดโปรโมชัน ลด แลก แจก แถม เพื่อเร่งระบายสต๊อกอย่างรวดเร็ว จะว่าอสังหาฯ ช่วงนี้ซบเซาก็ว่าได้ แต่ก็มีบางทำเล บางโครงการที่ยังไปต่อได้ Demand ยังสูงกว่า Supply ในตลาด ถึงขั้นที่เรียกว่าขายดีสวนกระแสเลยทีเดียว เรามาดูข้อมูลตลาดอสังหาฯ กลางปี พ.ศ. 2563 จากการสำรวจโดย ฝ่ายวิจัย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ Feasy อัพเดททุกครึ่งปี (อัพเดทล่าสุด กลางปี 2563)

       มาดูกันว่า บ้าน-คอนโดทำเลไหน ระดับราคาเท่าไหร่ ที่ยังขายดีสวนกระแส อัตราการขายเฉลี่ย (Sold Average) มากกว่า 20% ต่อเดือน ทั้งที่ปกติแล้วอัตราการขายเฉลี่ยของโครงการอาจอยู่ที่ราว 2-5% ตลอดระยะเวลาที่เปิดขาย เช่น คอนโดอาจใช้เวลาขายเฉลี่ยประมาณ 2-3 ปี ถ้ามี 100 หน่วยก็จะขายได้เฉลี่ย 2-5 หน่วยต่อเดือนนั่นเอง โดยที่ช่วงแรกๆ อาจจะขายดี ขายได้เดือนละ 20-30% แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆ ชะลอลง จนกว่าจะขายหมด ทำให้อัตราการขายเฉลี่ยต่อเดือนไม่สูงนั่นเอง

อันดับที่1: คอนโด ทำเลคลองสาน ระดับราคา 10 -20 ล้านบาทอัตราการขาย 92.9% ต่อเดือน

บ้านคอนโดขายดี

       ทำเลคลองสานอยู่ฝั่งธนบุรี ติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีศูนย์การค้า Icon Siam ในทำเลนี้ด้วย เมื่อดูข้อมูลตลาดจากการสำรวจโดย ฝ่ายวิจัย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ Feasy อัพเดททุกครึ่งปี (อัพเดทล่าสุด กลางปี 2563) จะพบว่ามีอัตราการขาย 92.9% ต่อเดือน! ถ้ามีคอนโดอยู่ 100 หน่วย จะใช้เวลาขายไม่ถึง 1 เดือนก็ขายได้หมดแล้ว แสดงว่าขายหมดเร็วมาก เป็นเพราะมีโครงการที่ขายดีเป็นพิเศษเปิดตัวในทำเลดังกล่าว ถึงแม้ระดับราคาจะแพงถึง 10 – 20 ล้านแต่เมื่อเทียบกับศักยภาพทำเลคอนโดริมแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ถือว่าคุ้มค่า อีกทั้งกลุ่มผู้ซื้อเป็นผู้มีรายได้สูง ซึ่งอาจไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิดมากนัก อีกทั้ง Supply คอนโดระดับราคานี้อาจมีน้อยกว่า Demand ทำให้โครงการขายหมดได้ในเวลาไม่นาน

       ไม่ใช่ว่าคอนโด ในคลองสาน ทุกระดับราคาจะขายดี หากคุณ “เพิ่มที่ดิน” แล้ว “สร้างแผนการลงทุน” พัฒนาคอนโดมิเนียมในทำเล คลองสาน แล้วจะพบว่า คอนโดในทำเลนี้ ระดับราคาอื่น มีอัตราการขายอยู่ราว 2.1% – 14.7% โดยที่คอนโดในช่วงราคา 3 ล้านขึ้นไปจะขายได้ดีกว่า อัตราการขายมากกว่า 10% ทั้ง ๆ ที่สัดส่วนอุปทานเหลือขาย (แผนภูมิวงกลม) ส่วนใหญ่เป็นคอนโดราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท (คอนโด 1-2 ล้านบาท 19.2% และ คอนโด 2-3 ล้านบาท 55%) แสดงว่าของที่ยังเหลือส่วนใหญ่เป็นของราคาไม่แพง ในขณะที่ของแพงขายได้ดี ระบายสต๊อกได้มากกว่า อาจเป็นเพราะว่ากำลังซื้อกลุ่มกลาง-บน ยังสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้

วิเคราะห์ที่ดิน

คุณก็วิเคราะห์ที่ดินเองได้ แค่สมัครสมาชิกฟรี! https://www.feasyonline.com/member/register (แพคเกจฟรี วิเคราะห์ที่ดินได้ 1 แปลง)

อัพเกรดแพคเกจ Personal เพียง 2900 บาท/ผู้ใช้/ปี

– เพิ่มที่ดินได้ไม่จำกัดจำนวน
– Workshop กลุ่มย่อย เรียนรู้จากเคสจริง
– ดูราคาตลาดที่ดินกว่า 400 ทำเล (สำหรับเปรียเทียบแต่ละทำเล ไม่สะท้อนราคารายแปลง)

อันดับที่ 2: คอนโด ทำเลบางบัวทอง ระดับราคา 3 -5 ล้านบาท อัตราการขาย 32.5% ต่อเดือน

บ้านคอนโด ทำเลขายดี

       ทำเลบางบัวทองครอบคลุมพื้นที่ เซนทรัลเวสต์เกท IKEA บางใหญ่ และปลายสายของ MRT รถไฟฟ้าสายสีม่วง (ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน) มีคอนโดมิเนียมในบริเวณนี้จำนวนไม่มาก เราจะพบว่านอกจากอัตราการขายของคอนโดราคา 3-5 ล้านจะสูงถึง 32.5% ต่อเดือนแล้ว ยังไม่มี Supply คอนโดในระดับราคานี้เหลืออยู่อีกด้วย (แผนภูมิวงกลม) ของที่เหลือขายตอนนี้คือคอนโด ระดับราคา 1-2 ล้านบาท เป็นไปได้ว่า คอนโดระดับราคา 3-5 ล้านบาท ซึ่งเป็นรูปแบบห้องขนาดใหญ่ 2 ห้องนอน ผลิตออกมาน้อย เมื่อเทียบกับ demand ของผู้ซื้อที่สูงกว่า จึงขายหมดเร็ว

อันดับที่ 3:  ทาวน์เฮาส์ ทำเล ศรีนครินทร์-อุดมสุข ระดับราคา 5 -10 ล้านบาท อัตราการขาย 32.4% ต่อเดือน

บ้านคอนโด ทำเลขายดี

       บริเวณสวนหลวง ร.9 มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งมีแผนจะก่อสร้างเสร็จในปี 2564 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีสำโรง และ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สถานีพัฒนาการ ทำให้ทำเลนี้มีทั้งคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์โฮมเกิดขึ้นมามากมาย จะเห็นว่าตลาดทาวน์เฮาส์ราคาแพง 5-10 ล้านบาท/หลัง ขายดีมาก เพราะอัตราการขายสูงถึง 32.4% และยังไม่มีอุปทานเหลือขายในตลาดอีกด้วย (ค่าของช่วง 5-10 ล้านบาทในแผนภูมิวงกลมเป็น 0%)  ในขณะที่ทาวน์โฮมราคา 2-3 ล้าน และ 3-5 ล้าน ก็มีอัตราการขายที่ค่อนข้างสูง 6.4% – 7% แสดงว่ามีความต้องการสูงกว่าอุปทานในตลาด อาจมีอุปทานในตลาดน้อยนั่นเอง

อันดับที่ 4:  คอนโด ทำเล บางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ ระดับราคา 5 -10 ล้านบาท อัตราการขาย 25.6% ต่อเดือน

บ้านคอนโดทำเลขายดี

       ทำเลบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงเตาปูน-ท่าพระ) ที่เพิ่งเปิดให้บริการปลายปี 62 ทำให้มีโครงการอสังหาเกิดขึ้นมากมาย โดยคอนโดมิเนียมราคา 5-10 ล้านบาทขายดีมาก ด้วยอัตราการขาย 25.6% ต่อเดือน ส่วนคอนโดราคาต่ำลงมาหน่อย 3-5 ล้านบาทเองก็ขายดีด้วยอัตราการขาย 19.3% ต่อเดือน ในขณะที่คอนโดราคาต่ำลงมา 2-3 ล้านบาท มีอัตราการขายน้อยลงมา และยังเหลืออุปทานในตลาดมากถึง 60% (แผนภูมิวงกลม) แสดงว่าคอนโดราคาแพงอาจมีความต้องการสูง ในขณะที่อุปทานน้อยกว่าทำให้ขายออกได้เร็ว และเหลือขายน้อย

อันดับที่ 5:  คอนโด ทำเล เจ้าคุณทหาร ระดับราคา 1-2 ล้านบาท อัตราการขาย 22.5% ต่อเดือน

บ้านคอนโดทำเลขายดี

       ทำเลนี้ครอบคลุมพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ตั้งแต่บริเวณมีนบุรี ถนนรามคำแหง ที่มีรถไฟฟ้าสองสายกำลังจะพาดผ่าน คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2566 และรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2564 ลงใต้ไปจนถึงเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สาเหตุที่ทำให้ คอนโดมิเนียมราคา 1-2 ล้านบาท ขายดี โดยมีอัตราการขายสูงถึง 22.5% ต่อเดือน เป็นเพราะมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดใหม่บริเวณมีนบุรี ใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้าที่สายสีส้ม และ ชมพู เป็นคอนโดสูง High-rise ตึกแรกในย่านมีนบุรี ทำให้ขายดี ขายหมดอย่างรวดเร็ว ตอนนี้เหลือคอนโดราคา 1-2 ล้านบาทในทำเลเพียง 20 หน่วยเท่านั้น (แผนภูมิวงกลม)

       หากใครมีที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในทำเลไหน กำลังมองหาโอกาส ว่าจะเก็บไว้ ขายต่อ หรือนำไปลงทุนพัฒนาอย่างไร Feasy ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลตลาดอสังหาฯ รายทำเล รายประเภทอสังหาฯ จากข้อมูลตลาดที่ได้รับการเก็บข้อมูลโดยศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย อัพเดททุกครึ่งปี แค่คุณ “เพิ่มที่ดิน” ก็สามารถดูศักยภาพที่ดินรายแปลง แล้ว “สร้างแผนการลงทุน” เพื่อดูข้อมูลตลาด ราคาเฉลี่ย อัตราการขายในทำเล คู่แข่งในทำเล และคำนวณต้นทุนราคาที่ดินที่รับได้หากจะพัฒนาที่ดินเป็นโครงการจัดสรรแนวราบ หรือ คอนโดมิเนียม

#ตลาดอสังหาฯ#ลงทุนอสังหาฯ#อัตราผลตอบแทน

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com/content/detail/1281

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

12 ข้อต้องตรวจสอบเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน สำหรับนายหน้าและนักลงทุน ก่อนซื้อ-เช่าที่ดิน

 

            ราคาที่ดินก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ จะซื้อทั้งทีต้องลงทุนเยอะ แต่สภาพคล่องต่ำ ก่อนจะซื้อที่ดินสักแปลงเราจึงต้องตรวจสอบศักยภาพของที่ดินก่อนว่าคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ เพราะบางครั้งที่ดินที่เรามองว่าสวย ทำเลดี อาจไม่ได้มีมูลค่ามากอย่างที่ตั้งราคาขายไว้ หรือ ที่ดินบางที่อาจจะดูไม่ดีนักแต่เราสามารถนำไปพัฒนาให้มีมูลค่าสูงได้ เพราะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูงนั่นเอง วันนี้ Feasy โปรแกรมวางแผนการลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องเช็คก่อนซื้อที่ดิน จะได้ไม่พลาดนั่นเอง

  1. ตำแหน่งที่ดิน

อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบคือ ตำแหน่งและรูปร่างของที่ดิน วิธีการตรวจสอบ ได้แก่ การดูขอบเขตที่ดินผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน ดูลักษณะที่ดินผ่าน Google maps หรือการลงพื้นที่ไปสำรวจที่ดินด้วยตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้อง และ รูปร่างที่ดิน ซึ่งมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร เพราะรูปร่างที่ดินที่มีมุมมาก หรือ แคบจนเกินไป ก็จะพัฒนาอาคารได้ยาก

  1. ทางเข้าออก ติดถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล

ขั้นตอนต่อไปเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินของเรามีทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้อาจดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตรวจสอบเขตทางผ่านเว็บไซต์ของราชการ เพราะ ที่ดินบางทำเลอาจดูเหมือนมีทางเข้าออกทีรถและคนสามารถใช้ได้แต่ตามกฎหมายถนนนั้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ทำให้เราไม่มีสิทธิใช้ได้ เป็นต้น หากที่ดินของเราติดถนน เราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล เพราะมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารเช่นกัน

  1. สีผังเมือง บอกศักยภาพการพัฒนาอาคาร และประเภทอาคารที่สร้างได้

สีผังเมืองในแต่ละพื้นที่จะแต่งต่างกัน เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง แต่ละพื้นที่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกันนั่นเอง ที่ดินใจกลางเมือง หรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีศักยภาพตามสีผังเมืองที่สูงกว่าที่ดินเขตนอกเมือง หมายความว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ขนาดใหญ่กว่าแม้มีที่ดินขนาดเท่ากัน และสามารถพัฒนาอาคารประเภทพาณิชยกรรมได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่า เช่น หากเรามีที่ดินขนาด 2 ไร่

กรณีที่ 1

ที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.3 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มี FAR 7 และ OSR 4.5% จะพัฒนาอาคารได้สูงสุด 22,400 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคารเพียง 144 ตร.ม. จากพื้นที่ดิน 1,600 ตร.ม. และสามารถพัฒนาอาคารได้หลากหลายประเภท

สีผังเมือง FAR OSR

กรณีที่ 2

ที่ดินตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง 10 เมตร แต่ไปตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย FAR 2.5  และ OSR 12.5% จะสามารถพัฒนาอาคารได้สูงสุด 8,000 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร 400 ตร.ม. เท่ากับว่าพัฒนาอาคารได้ขนาดเล็กลง อีกทั้งยังไม่สามารถมารถพัฒนาอาคารบางประเภท หรือ ต้องพัฒนาภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สร้างอาคารพานิชยกรรมขนาดตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไปไม่ได้ เป็นต้น

สีผังเมือง FAR OSR

จาก 2 กรณีข้างต้นจะเห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของที่ดินจะต่างกันอย่างมากหากอยู่บนพื้นที่สีผังเมืองคนละสีกัน แม้ที่ตั้งจะห่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม หากคุณต้องการตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมือง 21 จังหวัดพร้อมระบุข้อมูล FAR, OSR มาไว้บนแผนที่
สมัครสมาชิก ตรวจสอบสีผังเมืองฟรี ที่นี่

ดูเพิ่มเติม
อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) คืออะไร? อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) คืออะไร?

  1. การเวนคืนที่ผ่านและในอนาคต

ก่อนซื้อที่ดินควรตรวจสอบว่าจะมีการเวนคืนที่ส่งผลกระทบกับที่ดินของเราหรือไม่ Feasy ได้รวบรวมข้อมูลแนวเวนคืนใน 21 จังหวัด และลิงค์เอกสารราชการมาไว้บนแผนที่เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ

แนวเวนคืน

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบแนวเวนคืนใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

  1. พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

คล้ายกับการตรวจสอบแนวเวนคืน ในแต่ละพื้นที่อาจมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จะกำหนดว่าห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท เช่น พื้นที่รอบท่าอากาศยานจะมีข้อกำหนดว่าในระยะใกล้ๆ เช่น ระยะ 300 เมตรจากแนวเขตที่ดินของสนามบินไม่สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถว เป็นต้น ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปก็จะปรับข้อกำหนดต่าง ๆ กันไป ก่อนการซื้อที่ดินจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ตามที่เราวางแผนไว้ Feasy ได้รวบรวมพื้นที่ห้ามก่อสร้าง 21 จังหวัดไว้เพื่อให้คุณตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น

พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบพื้นที่ห้ามก่อสร้างใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

      เมื่อเราเห็นศักยภาพของที่ดิน และต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจ ซื้อ-ขายที่ดิน ต้องตรวจสอบ จากการคัดโฉนด ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งคุณจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่

  1. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่

  1. การจดจำนอง (ถ้ามี)

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะแสดงข้อมูลนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น หากติดจำนองกับธนาคารอยู่ก็จะสามารถตรวจสอบได้

  1. การรอนสิทธิ์

ได้แก่ ภาระจำยอม สัญญาเช่า ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อมูลค่า ราคาทีดิน เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นั่นเอง

  1. หากที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่หมิ่นเหม่
    เช่น อาจครอบคลุมสีผังเมือง 2 สี หรืออยู่ใกล้กับแนวเวนคืนมาก ทำให้คุณไม่มั่นใจว่าที่ดินอยู่ในแนวเขตสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างใด ก็ควรส่งเอกสารตรวจสอบกับกรมที่ดินเพื่อความมั่นใจ
  2. ตรวจสอบว่าโฉนดเป็นของจริงหรือไม่

ในบางกรณีเจ้าของที่ดินอาจนำโฉนดที่ดินฉบับที่ถูกที่ถูกยกเลิกแล้วมาขาย หากเราซื้อที่ดินผืนนั้นไปอาจไม่ได้ตามที่ตกลงไว้ จึงต้องตรวจสอบว่าโฉนดที่ดินในมือเป็นของจริงหรือปลอม

  1. ที่ดินถูกอายัด
    หากที่ดินถูกอายัด จะไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินได้ คือ ไม่สามารถซื้อ ขาย โอนที่ดินได้ สามารถตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน
  2. เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
    เช่น การพิจารณาเพิกถอนโฉนด อยู่ระหว่างการแก้ไขรายการจดทะเบียนสิทธิ หรือ อยู่ระหว่างการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน เป็นต้น เพราะจะมีผลต่อที่ดินนั้นโดนตรง ควรตรวจสอบและติดตามการดำเนินการต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จ

       ก่อนซื้อ-เช่าที่ดินมีหลายข้อที่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจ จะได้ไม่โดนหลอก ทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่ได้เต็มศักยภาพของที่ดิน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ มีเป้าหมายที่จะช่วยนักลงทุนอสังหาฯ ลดความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน เราจึงพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์นายหน้า เจ้าของที่ดิน นักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี! ตรวจสอบสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างทันที

#กฎหมายอสังหาฯ#ที่ดิน#ผังเมือง#แนวเวนคืน#พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com

FAR OSR คืออะไร? ส่งผลกับราคาที่ดินด้วยนะ

 

            กฎหมายผังเมืองจะมีข้อกำหนดพื้นที่อาคารที่สร้างได้ FAR และ OSR ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง ส่งผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารในแต่ละพื้นที่ ต่อให้เป็นที่ดินที่อยู่ติดกันแต่อยู่คนละผังสี มีค่า FAR และ OSR ต่างกันก็ทำให้พื้นที่ของอาคารที่พัฒนาได้ต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนซื้อ-ขายที่ดินจะต้องตรวจสอบสีผังเมือง ประเภทอาคารสร้างได้ และค่า FAR OSR เพราะหากที่ดินของคุณสามารถสร้างอาคารได้พื้นที่มากขึ้น ก็มีโอกาสที่ราคาที่ดินจะสูงขึ้นอีกด้วย

FAR คืออะไร?

FAR (Floor to Area Ratio) คือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน เป็นตัวกำหนดว่าจะสามารถสร้างอาคารได้ขนาดเท่าไหร่ โดยมีวิธีคำนวณคือ

พื้นที่อาคารสูงสุดที่สร้างได้  =  ค่า FAR X ขนาดพื้นที่ดิน

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด FAR = 6 เท่ากับว่า พื้นที่อาคารสูงสุดที่สามารถสร้างได้ คือ 6 x 3,200 = 19,200 ตารางเมตร

OSR คืออะไร?

OSR (Open Space Ratio) คือ อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม เป็นตัวกำหนดว่าต้องเหลือพื้นที่ว่างบนพื้นดินเท่าไหร่ ส่งผลต่อขนาดอาคารเช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการคำนวณ คือ

พื้นที่เปิดโล่งบนที่ดิน= ค่า OSR xพื้นที่อาคาร

ตัวอย่าง ที่ดินขนาด 2 ไร่ (3,200 ตารางเมตร) ตามข้อมูล FAR ด้านบนจะสามารถสร้างได้ 19,200 ตร.ม. อยู่ในพื้นที่ตามข้อกำหนด OSR = 5% เท่ากับว่า จะต้องมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินโดยไม่มีหลังคาคลุม 5% x 19,200 = 960 ตารางเมตร หมายความว่าต้องเว้นที่ว่างไว้ ไม่ใช้ก่อสร้างอาคาร 960 ตารางเมตรนั่นเอง

หากว่าที่ดินหลายแปลงตั้งอยู่บนพืื้นที่สีผังเมืองคนละสี ก็จะมีศักยภาพการพัฒนาอาคารต่างกัน เนื่องจาก FAR ส่งผลต่อพื้นที่อาคารที่สามารถสร้างได้ และ OSR ส่งผลต่อพื้นที่เปิดโล่งบนพื้นดิน ยิ่งเป็นพื้นที่พานิชยกรรม สีแดง สีส้ม สีน้ำตาล ก็สามารถสร้างอาคารได้ขนาดใหญ่กว่า และมีพื้นที่เปิดโล่งบนที่ดินน้อยกว่าพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม อย่างพื้นที่สีเขียว เป็นต้น

FAR OSR สีผังเมือง

วิธีตรวจสอบค่า FAR OSR ง่ายๆ 

            เราสามารถตรวจสอบค่า FAR OSR ตามสีผังเมืองได้ง่าย ๆ บนเว็บไซต์ Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ที่เปิดให้สมัครสมาชิกใช้งานฟรี แค่จิ้มบนแผนที่ก็สามารถตรวจสอบสีผังเมืองได้แล้ว โดยปัจจุบันเราได้รวบรวมข้อมูลสีผังเมืองจำนวน 21 จังหวัด พร้อมข้อมูล FAR OSR มาแสดงบนแผนที่แล้ว

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

นอกจากนี้ คุณสามารถสร้าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” เพื่อดูผลการวิเคราะห์ศักยภาพที่ดินของคุณในคลิกเดียว ได้แก่ สีผังเมือง FAR OSR ราคาตลาดที่ดินรอบข้าง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้าง การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการคำนวณค่าเช่าที่ดินที่เหมาะสม เป็นต้น
ดูตัวอย่าง “รายงานศักยภาพการลงทุน” ได้ที่นี่

ตรวจสอบสีผังเมือง FAR OSR

#ความรู้อสังหาฯ.#กฎหมายอสังหาฯ#อสังหา 101#ที่ดิน#FAR#ผังเมือง

เว็บไซต์ อ้างอิง : https://www.feasyonline.com